วัดพระเจดีย์งาม


วัดพระเจดีย์งาม  ตาหลวงเผือก  พระครูเผือก คนฺธโร วาจาสิทธิ์
วัดพระเจดีย์งาม 
ตาหลวงเผือก พระครูเผือก คนฺธโร วาจาสิทธิ์
      วัดพระเจดีย์งาม  รูป ตาหลวงเผือก  พระครูเผือก คนฺธโร วาจาสิทธิ์
สร้างโดย วิธี  เททองหล่อแบบโปราณ เมื่อ วันจันท์ ที่12  พ.ค. 2557 ขึ้น14ค่ำ เดือน 6   
พิธีปลุกเสก  เดี่ยว ข้ามคืน 5 คืน 5 พระครู 5 วัด โดยพระครู ที่มีอายุ มาก ใน อำเภอ ระโนด ,อำเภอสทิงพระ   จังหวัดสงขลา 
ประกอบด้วย 
         พระครู โอภาสธรรม (ท่านแสง) เจ้าอาวาสวัดศิลาลอย ปลุกเสกข้ามคืน เมื่อ วันที่ 12 ถึง 13   ก.ย.2557
         พระครู ปภัศน์วรคุณ(ท่านข่าว)เจ้าอาวาสวัดบ้านใหม่  ปลุกเสกข้ามคืน
เมื่อ วันที่  13 ถึง 14 ก.ย.2557
         พระครู ประกาศธรรมกิจ(ท่านประมูล)เจ้าอาวาสวัดประดู่  ปลุกเสกข้ามคืนเมื่อ วันที่  14 ถึง 15 ก.ย.2557
         พระครู จิตสังวราชิคุณ      เจ้าอาวาสวัดคูวา    ปลุกเสกข้ามคืน
เมื่อ วันที่  16 ถึง 17 ก.ย.2557
        ปลุกเสกที่โบสถ์ มหาอุต ณ.วัดเจดีย์งาม ตำบล บ่อตรุ อ.ระโนด จ.สงขลา





 ที่ตั้ง ของวัด พระเจดีย์งาม  ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ่อตรุ  อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา    พิกัดแผนที่   เส้นรุ้ง  07องศา 37 ลิปดา 40  ฟิลิปดา  เหนือ     เส้นแวง 100 องศา 23 ลิปดา 33 ฟิลิปดา  ตะวันออก                     เลขพิกัดที่    47 - 653938E , 0844929 N
                   วัดพระเจดีย์งามสร้างขึ้นสมัยใดยังไม่แน่ชัด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฎ ในช่วงปี พ.ศ.1300 ได้มีวัดพระเจดีย์งาม ปรากฎอยู่ในแผนที่ กัลปวาที่หัวเมืองพัทลุง และกรุงศรีอยุธยา  ในภาพกัลปวาวัดหัวเมืองพัทลุง  และกรุงศรีอยุธยา   เรียกชื่อวัดนี้ว่า  วัดพระไจดีงาม  เป็นวัดขึ้นกับวัดเขียนบางแก้ว  คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง    

                

รูป เจดีย์ วัดพระเจดีย์งาม   

   ลักษณะพระเจดีย์  รูปทรงเป็นทรงกลมที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมก่อสร้างด้วยอิฐ  นอกจากเจดีย์ ที่ปรากฎในวัดพระเจดีย์งามแล้ว ยังมีวัดบริเวณใกล้เคียง  เช่น พระเจดีย์ที่วัดสีหยัง  พระเจดีย์เล็กในวัดสทิงพระ  และพระเจดีย์วัดพังยาง   พระเจดีย์เดิมวัดเขาน้อย  เป็นต้น   หรือพระเจดีย์ทิศที่มีพระและลวดลายปูนปั้นประดับ ณ พระเจดีย์บนเขาพระโคะ  ฐานพระเจดีย์มีซุ้มและมีช้างอยู่ข้างใน  ตมคติการมีช้างประดับฐานได้แบบอย่างมาจากลังกา  แต่ว่าลักษณะของซุ้มเป็นแบบศิลปะศรีวิชัย  ซึ่งเป็นของในท้องถิ่นแต่เดิม

     

    ลักษณะพระพุทธรูป การรับคติหินยานจากลังกาเข้ามาทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นเคารพบูชาเป็นแบบอย่างของท้องถิ่นโดยเฉพาะ  พระพุทธรูปส่วนมากเป็นปางมารวิชัย  พระพักตร์ดุ  พระวารกายกระด้างตรง  และพระหัตถ์ขวาหัก  เป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปในภาคใต้ที่ทำสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ในวัดพระเจดีย์งาม ก็มีพระพุทธรูป เป็น พระโพธิสัตว์    องค์พระโพธิสัตว์ก่อสร้างด้วยหินปะการังห่ออิฐดินเผาไม่ถือปูนตามประวัติ ได้มีการบูรณะอย่างน้อย  2  ครั้ง  ครั้งที่1 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าเอกทศรถ  โดยพระมหาเถรเทพได้ทำการบูรณะพระวิหารกับพระโพธิสัตว์ ณ วัดพระเจดีย์งาม  ทำให้พระพักตร์เปลี่ยนไปเป็นแบบอยุธยา  คือหน้าอูมเต็ม  บูรณะครั้งที่ 2  เมื่อ พ.ศ. 2505  ได้มีการบูรณะพร้อมกับพระเจดีย์ ช่างได้แกะขูดปูนเก่าที่ชำรุดออก  พบพระพักตร์ที่ซ่อมอยู่ข้างในเป็นรูปหน้านาง 
รูปพระโพธิสัตย์วัดพระเจดีย์งาม
ตามแบบสมัยศรีวิชัย  ฉะนั้น ในการบูรณะครั้งนี้  ช่างจึงถือเอาลักษณะเดิมของศรีวิชัยเป็นหลัก แม้ไม่เหมือนเดิมก็ดูออกว่าเป็นหน้านาง คือ คล้ายผู้หญิง ตามประวัติ การสร้างพระโพธิสัตว์นั้น ได้มีการสร้างทั้งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ไว้ด้วยกัน   แต่เนื่องจากว่าพระพุทธรูป หรือเรียกว่า  หลวงพ่อเดิมนั้น  ได้ถูกนำไปประดิษฐานที่วัดเชิงเหนือ อำเภอกระแสสินธุ์   จังหวัดสงขลา  "องค์พระเดิม"นั้นหรือหลวงพ่อเดิมเป็นพระพุทธรูป ทำด้วยหินปะการัง   ตามตำนาน บันทึกเรื่องราวไว้ว่า  วัดเจดีย์มหรือ วัดพระเจดีย์งาม  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของวัดเชิงแสเหนือ(วัดเอก)   ในยุคสมัยที่เมืองสทิงพระ เป็นที่ตั้งเมืองพัทลุง ได้มี สมณศักดิ์ เป็นพระมหาเถรลังกาเดิม รองจากพระราชคณะเมืองพัทลุงซึ่งเป็นคณะลังกาแก้ว   ซึ่งทานพระมหาเถรลังกาเดิม เป็นผู้ที่มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน  ท่านมีความเชี่ยวชาญ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ คามวิธีแพทย์แผนโบราณ และเป็นผู้สร้างเจดีย์ 9 องค์ ที่วัดเจดีย์งาม  จนเมื่อ ท่าน มรณภาพ  ศิษยานุศิษย์จึงนำอัฐิของท่าน บรรจุไว้ในพระพุทธรูปหินปะการังที่ท่านได้สร้างไว้  ต่อมาที่บ้านเจดีย์งาม มีเหตุจำเป็นให้ผู้คน ประชาชน ต้องอพยพ ไปหาที่ตั้งหลักแหล่งใหม่ทางทิศตะวันตก คือที่บ้านใกล้วัดเอก  แล้วได้นิมนต์ พระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของพระมหาเถรลังกาเดิม(หลวงพ่อเดิม) ให้ไปเป็นเจ้าอาวาส  ท่านจึงได้นำพระพุทธรูป พระมหาเถรลังกาเดิม(หลวงพ่อเดิม) ไปประดิษฐาน  ณ.วัดเอก  ด้วย  จนต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระเอกอุดม  และด้วยเหตุนี้ วัดดังกล่าวจึงปรากฎในแผนที่ภาพวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า วัดพระครูเอกอุดม   ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า  วัดเอก 

 นอกจากนั้นแล้ว วัดพระเจดีย์งาม และ สทิงพระ ได้มีการสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายกัน  รูปแบบการสร้างอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๓  ร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  ดังที่นักวิชาการรองศาสตราจารย์อนุวิทย์  เจริญศุภกุล ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า  โบราณสถานที่มีแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ในบริเวณใกล้เคียงมีวัดสทิงพระ   และวัดสีหยัง นอกจากนี้ วัดเจดีย์งามนั้น ศาสตราจารย์บวสเชอลีเย่  ยืนยันว่ามีเทคนิคการก่อสร้างแบบศรีวิชัยคล้ายไชยา

                  
  ลักษณเด่นของวัดพระเจดีย์งาม  พระเจดีย์องค์ใหญ่ฐานพระเจดีย์มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมผืนผ้า กว้าง  8.20 เมตร ยาว  12.20 เมตร  มีบันไดขึ้นทางทิศใต้  ขึ้นไปถึงมีชานเวียนรอบองค์พระเจดีย์ขอบชานมีเจดีย์เล็ก  4 มุม  องค์พระเจดีย์ก่อสร้างด้วย หินปะการัง”  ล้วนทั้งองค์  ตั้งแต่ฐานถึงยอด  แม้ปล้องไฉนก็สกัดหินปะการังเป็นวงกลมวางซ้อนกันขึ้นไป  ฉาบภายนอกด้วยปูนหอยผสมน้ำผึ้ง (น้ำตาล)  มีปล้องไฉนมีจำนวน  59  ปล้อง ที่ยอดพระเจดีย์

รูป เจดีย์ และโบสถ์ วัดเจดีย์งาม

 ประกอบด้วยปลอกทองเหลือง
    
ท่อน ใหญ่เล็กตามลำดับ ภายหลังถูกฟ้าผ่าตกลงมาขณะนี้ปลอกทางเหลือง    ทอนนั้น นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงขลา   เจดีย์องใหญ่ถือว่าเป็น สถาปัตยกรรม โบราณ ที่มีองค์เดียวในประเทศไทย หรือเป็นองค์เดียวของโลก ที่ใช้วิธีการสร้างแบบนี้ รอบองค์พระเจดีย์ใหญ่ มีเจดีย์เล็กๆอยู่โดยรอบ  เจดีย์เหล่านี้ชาว ภาคใต้ได้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาหลักพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง  จึงได้มีผู้สันนิฐานความหมายไว้ว่า เจดีย์บริวาร   ๘ องค์  หมายถึง  มรรค ๘  เจดีย์ทิศบนฐานทักษิณาวรรต ๔ องค์  หมายถึง  อริยสัจ ๔  เจดีย์องค์ใหญ่ยอดกลาง หมายถึง นิพพาน ซึ่งมีความหมายรวมว่า  เมื่อเข้าถึงมรรค ๘  รู้อริสัจ ๔  แล้วจึงเข้าถึง นิพพาน
              
รูป เจดีย์  ของท่านเจ้าวัดหลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์
     หนึ่งในเจดีย์มี เจดีย์ของ ท่านเจ้าวัด 
ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า  พ่อท่านเจ้าวัด  เดิมชื่อว่า ช่วย”  ประวัติของท่านว่าเป็นบุตรของใครนั้นไม่มีปรากฎ เพียงแต่ว่าเมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดพระเจดีย์งาม  ตลอดมา จนมรณภาพ ที่วัดพระเจดีย์งาม   ท่านนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของพระคาถาอาคม ไสยศาสตร์ต่างๆ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว ตามประวัติ ที่เล่าต่อกันมา เมื่อครั้งสมัยที่โจรสลัดมลายูที่มาจากคาบสมุทรและหมู่เกาะในเขตประเทศมาเลเซีย ได้แก่พวก อุยงตะนะ  เข้ามาปล้นทรัพย์สินและเผาผลาญวัดวาอารามและบ้านเมืองไปด้วย  ในเวลาเดียวกันกับบริเวณเมืองสทิงพระ ชุมพล มีการปล้นสะดมเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง และมีการรุกรานทำร้ายแย่งชิงเบียดเบียนประชาชน จึงทำให้มีการอพยพหลบหนีไปจากบ้านจากถิ่น  ชาวบ้านบางพวกก็มาขอพึ่งหลวงปู่ช่วยที่วัดพระเจดีย์งาม   หลวงปู่ช่วย  จึงได้นำคนหนุ่มใจกล้าไปจำนวนหนึ่ง  พร้อมด้วยหม้อ  ปูนสีขาว  ที่ใช้กินกับหมากพลูติดตัวไปด้วย  ทำการสะกดพวกโจร ให้สลบ หลับ แล้วเอาปูนขาว ไปทาที่คอของหัวหน้าโจรสลัดและลูกน้องทั่วทุกคน แล้วกลับวัด ครั้งเมื่อโจรสลัดตื่นขึ้นมาเมื่อ เห็นปุนสีขาวติดอยู่ที่คอ  ก็รู้ว่าข้าศึกมาถึงตัวแล้ว  แต่เขาไม่ทำร้ายเราจึงเกิดความหวาดกลัวก็ยกพวกกลับ  หลวงปู่จึงได้นาม เรียกขานต่อกันมาว่า        
 หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์  ซึ่งมาจากชื่อเดิมของท่านที่ชาวบ้านเรียกว่า  พ่อหลวงช่วย” บ้าง  ปู่หลวงช่วย” บ้าง  เป็นการเรียกตามภาษาถิ่น  ถ้าเรียกโดยภาษากลางก็เรียกว่าหลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์  ครั้งเมื่อท่านได้มรณภาพก็ได้นำ  อัฐิ กระดูก มาบรรจุไว้ที่ภายในเจดีย์ ที่ชาวบ้านเรียกว่า เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” นอกจากนี้เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” ในอดีต  เป็นที่เคารพนับถือบูชาของชาวเจดีย์งาม และคนทั่วไป   มีการบนบานศาลกล่าวให้มีการช่วยเหลือตามประสงค์  ปรากฏว่า  มีการได้ผลตามที่ต้องการ  จึงมีการแก้ บนกันเป็นประจำ  ส่วนมากแล้วผู้ที่สมหวังหรื่อผู้ได้รับประโยชน์จากการบนบาน ต่างมาแก้บนด้วยวิธีจุดธูปเทียน และปิดทอง  วันที่คนในอดีตนิยมมาแก้บนกันคือวันวันพฤหัสบดี
                                   ต่อมา  พ.ศ. 2509 พระครูเผือก  คนุธโร  เป็นเจ้าอาวาส  ในขณะนั้น ได้จัดทำพระพิมพ์เนื้อว่าน ทำการปลุกเสกอัญเชิญบารมีของ หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์”  ปรากฏว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นิยมต้องการ  ของบุคคลทั่วไป การสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ช่วย   ตาหลวงเผือกท่านได้แสวงหาจำพวกว่าน  108 ชนิด  โดยการเก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย  จากนั้น  ตาหลวงเผือก ท่านได้ออกแบบและเป็นผู้เกาะพิมพ์รูป หลวงปู่ช่วย  ด้วยตัวท่านเอง  แล้วกดพิมพ์ทำสะสมเก็บไว้ทีละเล็กละน้อยจากนั้นจึงปลุกเสกด้วยตนเอง  นอกจากนี้แล้วตาหลวงเผือก  คนุธโร  เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้ทำการบูรณะ  พระเจดีย์  และวัดพระเจดีย์งาม ที่ ชำรุดทรุดโทรมมาก โดย นัดชาวบ้านเพื่อแจ้งประสงค์ว่าจะบูรณะพระเจดีย์  และวัด โดยใช้วิธี  ตีโพนเป็นเสียงส่งสัญญาณสำหรับเรียกชาวบ้าน   ซึ่งในสมัยนั้น ถ้าหากมีเหตุ,ปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์ ใด ก็ตามที่ทางวัดประสงค์ให้เรียกประชุมชาวบ้านนั้นก็                           

ภาพ โบสถ์  วัดพระเจดีย์งาม 

  จะตีโพนเป็นเสียงสัญญาณสำหรับเรียกชาวบ้าน เมื่อมีเสียงโพนดังขึ้นก็จะเป็นที่รู้กันว่าจะต้องมีเหตุ2 อย่างคือ  พระมรณภาพ  หรือต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิฉะนั้นจะไม่ตี  เมื่อชาวบ้านมารวมกัน ตาหลวงเผือก  ก็ได้บอกกับชาวบ้านว่า จะซ่อมแซม บูรณะวัดพระเจดีย์งาม และเจดีย์  และได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน เป็นอย่างดี นับว่า เป็นปรากฏการณ์ที่มีชาวบ้านร่วมยืนส่งทรายจากริมทะเลบ้านบ่อตรุ ระยะ 1  กิโลเมตร ยืนต่อกันเพื่อจะส่งทรายจนถึงวัด  เป็นจำนวนมาก และชาวบ้านอีกส่วนก็นำรถขนต่างหาก ตาหลวงเผือก ได้นำทรายมากองไว้หน้าอุโบสถจำนวนมากและตากฝนและแดดไว้ เป็นเวลา 3ปี เพื่อให้น้ำฝนชะล้างน้ำเค็มที่อยู่ในทราย ให้จืดเสียก่อนจึงจะเริ่มสร้าง นอกเหนือจากให้ชาวบ้านร่วมขนทรายแล้ว ชาวบ้านก็ยังชักชวนกันให้ชาวบ้านร่วมสมัครเป็นสมาชิกในการให้การ ช้วย บูรณะ ครอบครัวละ  1 บาทหรือ  2 บาทต่อเดือน จนกระทั้ง เจดีย์ทุกองค์ก็ได้รับการบูรณะในคราวเดียวกันทั้งเจดีย์องค์ใหญ่ และเจดีย์รายล้อม8  องค์ จนเสร็จสิ้น และเงินที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้านที่เป็นสมาชิกรายเดือนและเงินบริจาคทั่วไปยังคงเหลืออยู่  ก็นำมาบูรณะอุโบสถ จนเสร็จและยังมีเงินเหลือบางส่วน 

ภาพโรงธรรม วัดพระเจดีย์งาม 

พระอาจารย์เฉลิม  (อตีตเจ้าอาวาส วัดพระเจดีย์งาม)ได้กราบเรียนตาหลวงเผือก  ว่าเงินที่เหลือบางส่วน น่าจะนำมาสมทบ เพื่อบูรณะ สร้าง โรงธรรมโดยการขยายให้ใหญ่กว่าเดิม  เพื่อรองรับชาวบ้าน ,ประชาชน และ พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่มาทำบุญทั้งเดือน 5 และเดือน 10 ตาหลวงเผือก ก็อนุญาตตามข้อเสนอของพระอาจารย์เฉลิม  นับว่าแนวคิดการบูรณะพระเจดีย์ครั้งนั้นมีประโยชน์มหาศาล  ต่อการพัฒนาวัดพระเจดีย์งาม จนกระทั่งปี  2513 – 2517 วัดพระเจดีย์งาม ได้รับการยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา

1 ความคิดเห็น: